ฟันปลอม
Denture |
ครอบฟัน
(Crown)
ฟันปลอม
(Denture)
|
 
 
 
 
|
|
ฟันปลอม
: . . |


|
ในระยะแรกๆของชีวิต เกือบทุกคนจะมีฟันแท้เกือบครบ
เมื่อเวลาผ่านไปอาจเริ่มทยอยถอนไปทีละซี่
จนในที่สุดบางคนอาจไม่เหลือฟันแท้เลย
จึงจำเป็นต้องทำฟันปลอมเพื่อช่วยในการบดเคี้ยว เพื่อความสวยงาม
รวมไปถึงเพื่อช่วยในการออกเสียงที่ชัดเจนด้วย
นอกจากนี้แล้วฟันยังสามารถช่วยลดหรือป้องกันการเสื่อมสภาพที่อาจจะเกิดขึ้นกับอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการบดเคี้ยวได้
เช่น การถอนฟันไปซี่เดียวอาจทำให้ฟันข้างเคียงล้ม
เกิดช่องว่างระหว่างซอกฟัน เศษอาหารเข้าไปติดเกิดฟันผุ
เหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ตามมา ส่วนฟันคู่สบก็จะเกิดการเสื่อมสภาพ
เนื่องจากไม่มีแรงกระตุ้นจาการบดเคี้ยวอาหาร
ทำให้เกิดการละลายตัวของกระดูก เอ็นยึดปริทันต์แคบและบางลง
อาจทำให้ฟันคู่สบยื่นยาวหรือห้อยออกมา
ในภายหลังอาจต้องถอนฟันที่ยื่นนี้ออกและต้องตัดแต่งกระดูกที่ห้อยออกด้วย
ในบางรายที่ถอนฟันหลังไปหมด จะมีผลเสียคือ คางจะรั้งขึ้น
ทำให้ฟันหน้าสบกันที่ด้านปลายฟัน
ทำให้ปลายฟันสึกหรือฟันหน้าล่างอาจไปกัดโดนเพดานทำให้เจ็บเหงือก
หรือกัดโดนคอฟันบนทำให้ฟันบนยื่น ผู้ที่ทำครอบฟันหน้า
ครอบฟันอาจแต่ได้เพราะต้องรองรับแรงมาก
อย่างไรก็ตามการใส่ฟันปลอมก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อฟันที่เหลืออยู่
ช่วงระหว่างรอยต่อของฟันปลอมและฟันธรรมชาติอาจมีเศษอาหารติดอยู่ก็ให้เกิดฟันผุได้
ส่วนบริเวณที่ฟันปลอมปิดทับ เช่นเพดาน ขอบเหงือก
จะขาดการกระตุ้นและทำความสะอาด ก่อให้เกิดการอักเสบได้เช่นกัน
ส่วนฟันธรรมชาติที่รองรับฟันปลอมอาจถูกทำลาย อาจโยกและเจ็บปวดภายหลังได้ |
|
|
ฟันปลอมแบ่งเป็น 3 ลักษณะ
1.ฟันปลอมชนิดติดแน่นหรือสะพานฟัน
2.ฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้
3.ฟันปลอมทั้งปาก
|
 |
ฟันปลอมชนิดติดแน่นหรือสะพานฟัน
: : . |
|
เป็นฟันปลอมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
โดยการกรอฟันซี่ข้างเคียงเพื่อทำครอบฟันเป็นหลักยึดของฟันปลอม
การทำครอบที่ฟันหลักจะช่วยป้องกันฟันผุและให้ความสวยงาม
|
|
กรณีที่เหมาะในการทำสะพานฟัน
1.ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงสั้น
มีฟันหน้าและฟันหลังของช่วงฟันที่ถอนไป
2.ฟันหน้าที่ถูกถอนไป
และมีสภาพสันเหงือกที่ปกติ
3.ในรายที่สูญเสียฟันหลัง
และเว้นช่องมีฟันหน้าหายไปด้วย
ถ้าทำฟันปลอมชนิดถอดได้โดยใช้ฟันซี่โดดเป็นหลัก
ฟันโดดจะไม่แข็งแรงพอจะเป็นฟันหลักได้ แต่ถ้าทำสะพานฟันยึดติดฟันหน้า
ฟันโดดและฟันหลัง จะได้ความแข็งแรงมากขึ้น
กรณีที่ไม่เหมาะในการทำสะพานฟัน
1.ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงยาว
2.ฟันหลักไม่แข็งแรงพอ
 |


 |
|
|
|
|
|
 |
|
|
ก่อน
> >
> > >
> > >
> > >
> > >
หลัง |
|
|
|
|
|
|
|
|
ก่อน
> >
> > >
> > >
> > >
> > >
หลัง |
|
|
|
|
|
|
|
|
ก่อน
> >
> > >
> > >
> > >
> > >
หลัง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
ฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้
: : . |
|
|
คือฟันปลอมที่ทำขึ้นให้กับผู้ที่ยังมีฟันธรรมชาติเหลืออยู่
เป็นการใส่ฟันเพียงบางส่วนและเป็นฟันปลอมที่สามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้
|

|
กรณีที่เหมาะในการทำฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้
1.ฟันหลักด้านท้ายไม่มีทำให้ไม่มีฟันหลักเพื่อยึดสำหรับทำสะพานฟัน
2.ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงยาว
3.ช่วงที่เพิ่งถอนฟันไปใหม่ๆ เหงือกยังไม่ยุบสนิทดี
ถ้าคอยจนแผลหายเหงือกจะยุบลงไปอีก
อาจทำฟันปลอมชนิดถอดได้ใส่ไปก่อนเมื่อสันเหงือกยุบสนิทดีจึงมาเสริมฐานฟันปลอมต่อ
การใส่ฟันเร็วจะช่วยคงสภาพสันเหงือกทำให้เหงือกเต็มไม่ยุบตัวมาก
การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ ต้องมีตะขอโยงเพื่อยึดฟันอาจทำให้รู้สึกรำคาญ
เป็นที่กักขังของเศษอาหาร รับประทานอาหารไม่สะดวกและไม่สวยงาม
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
ฟันปลอมทั้งปาก
: : . |
|
กรณีที่เหมาะในการทำฟันปลอมทั้งปาก
1.ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่แล้ว
2.ฟันที่เหลืออยู่มีน้อยซี่ รูปร่างฟัน, กระดูกยึดรอบรากฟันไม่ดี
ฟันโยกมาก ใช้เป็นหลักยึดไม่ได้
3.สุขภาพช่องปากไม่ดี มีฟันผุมาก ควรถอดทิ้งแล้วทำฟันปลอมทั้งปาก
4.ฟันที่เหลืออยู่ไม่สวย อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ดี
มีแนวด้านสบฟันห้อยหรืออยู่นอกสันเหงือก
หากทำฟันปลอบถอดได้หรือติดแน่นโดยยึดแนวฟันเดิมจะไม่ได้ความแข็งแรงที่ดี
ขาดการยึดแน่น และไม่สวยงาม
|


|
|
|
|
|
|
|
|
|
ก่อน
> >
> > >
> > >
> > >
> >
หลัง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
 |
............................................................................................................................
MAKE SURE OF YOUR SMILE. Copyright
© 2004 SILOM DENTAL BUILDING. All Rights Reserved.
Call
Center : (66) 2636 9091,97 Tel : (66) 2636 9092-5 Fax : (66) 26369096
e-mail :
silomdental@silomdental.com
|